Wednesday, 8 May 2024
กภ. วิชญดา มาเสถียร

เมื่อเราอายุเริ่มมากขึ้น ก็ต้องดูแลตัวเองให้ดียิ่งขึ้นแต่เรื่องง่าย ๆ ที่หลาย ๆ คนอาจจะมองข้ามไป ”อุบัติเหตุจากการหกล้ม” ซึ่งนอกจากจะเกิดอาการบาดเจ็บแล้วอาจส่งผลถึงระบบภายใน ถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต

ผู้สูงอายุหมายถึงผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 ประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 10 ล้านคน ซึ่งนับเป็นร้อยละ 16 ของประชากรทั้งหมด จึงถือว่าประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) และคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.2564 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด ทำให้ประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ (Aged society) ดังเช่น ประเทศญี่ปุ่น, อิตาลี, เยอรมันและสวีเดน

ผู้สูงอายุเป็นวัยที่ระบบต่าง ๆ ในร่างกายเริ่มเสื่อมสภาพ, ความแข็งแรงเริ่มถดถอย, การทรงตัวแย่ลง จึงทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย การล้มเป็นสาเหตุหลักของการเกิดกระดูกหักในผู้สูงอายุ และยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุต้องย้ายจากบ้านไปอยู่สถานพักฟื้น รวมถึงสภาพจิตใจและอารมณ์ที่เปลี่ยนไป ในผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงต่อการล้มมากถึงร้อยละ 28-35 และผู้สูงอายุที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปเสี่ยงต่อการล้มเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 32-42 นอกจากนี้ยังพบว่าผู้สูงอายุมีอัตราการเสียชีวิตจากการล้มสูงเป็นอันดับ 2 รองจากการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนอีกด้วย

ทำไมผู้สูงอายุถึงล้ม

1.) มีปัญหาเรื่องการทรงตัว
2.) มีความบกพร่องทางการมองเห็น
3.) มีปัญหากระดูกสันหลังหรือหลังค่อม ทำให้ไม่สามารถยืดลำตัวตรง
4.) เป็นโรคความดันโลหิตหรือกินยาบางชนิดที่ส่งผลต่อความดันโลหิต
5.) กล้ามเนื้อขาและสะโพกไม่แข็งแรง

วิธีป้องกันและแก้ไขเบื้องต้น

1.) พบผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินและแก้ไขปัญหาการทรงตัวที่เกิดจากทางกระดูกหูชั้นใน 
2.) แก้ไขปัญหาสายตา เช่น การตัดแว่นสายตาให้เหมาะสม
3.) เปลี่ยนอิริยาบทบ่อยๆ ไม่นั่งหลังค่อมเป็นระยะเวลานาน
4.) ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านโรคความดันโลหิต
5.) ออกกำลังกายกล้ามเนื้อขาและสะโพก โดยใช้เก้าอี้เป็นอุปกรณ์ช่วยในการออกกำลังกาย ดังนี้

ท่าที่ 1

เขย่งเท้า : ค้าง 10 วินาที ทำซ้ำ 20 ครั้ง

กระดกเท้า : ค้าง 10 วินาที ทำซ้ำ 20 ครั้ง

ท่าที่ 2     

ย่ำเท้า ซ้าย-ขวา สลับกัน

ยกขาขึ้น ค้าง 10 วินาที แล้วสลับข้าง ทำซ้ำ 40 ครั้ง (ข้างละ 20 ครั้ง)

ท่าที่ 3

แกว่งขาไปด้านหน้า ค้างไว้ 10 วินาที แล้วแกว่งไปด้านหลัง ค้างไว้ 10 วินาที ตัวตรง หลังตรง ทำซ้ำข้างละ 20 ครั้ง

ท่าที่ 4 กางขาออกด้านข้าง ซ้าย-ขวาสลับกัน

กางขา ค้างไว้ 10 วินาที แล้วเปลี่ยนข้าง

ตัวตรง หลังตรง ทำซ้ำข้างละ 20 ครั้ง

การออกกำลังกายดังกล่าวจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อขาและสะโพก เมื่อออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะมีส่วนช่วยฝึกการทรงตัวและป้องกันการล้มในผู้สูงอายุได้ นอกจากนี้ลูกหลานต้องให้ความรัก ความห่วงใย ดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เปรียบเหมือนน้ำทิพย์หล่อเลี้ยงจิตใจให้ท่านมีชีวิตอยู่กับเราไปอีกนาน

.

เขียนโดย:  กภ. วิชญดา มาเสถียร
นักกายภาพบำบัด ปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต กายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล 


ข้อมูลอ้างอิง 
12 Best Elderly Balance Exercises For Seniors to Help Prevent Falls – ELDERGYM®
หกล้มในผู้สูงอายุ อันตรายกว่าวัยอื่นหลายเท่าตัว ปัญหาที่ต้องระวัง • RAMA Channel (mahidol.ac.th)

หลาย ๆ คนอาจจะต้องประสบกับการทำงานที่บ้าน หรือ work from home แล้วอาจจะไม่ได้ยืดเส้น ยืดสาย ควรระวังให้ดี ไม่เช่นนั้นโรคออฟฟิศซินโดรมจะถามหา โยคะถือว่าเป็นการออกกำลังกายง่าย ๆ ช่วยผ่อนคลายจากความเหนื่อยล้าได้อย่างดี

ในยุคที่มีการแข่งขันสูง การใช้ชีวิตด้วยความเร่งรีบ การทำงานด้วยความเครียด และการใช้เทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆทำให้ทุกคนใช้เวลาในแต่ละวันอย่างน้อย 8 - 9 ชั่วโมงในการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ ใช้มือถือ แทปเลต ประกอบกับท่านั่งที่ไม่เหมาะสม จึงเกิดการใช้งานกล้ามเนื้อแบบผิดปกติ ทำให้กล้ามเนื้อสูญเสียความยืดหยุ่น ร่วมกับการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเป็นเวลานาน ส่งผลไปยังข้อต่อและกระดูกต่าง ๆ บางคนอาจมีอาการชาหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง เริ่มจากการปวดบริเวณกล้ามเนื้อคอลุกลามไปยังกล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ โดยการปวดกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นจากการทำงานเรียกว่า “โรคออฟฟิศซินโดรม”

ข้อแนะนำสำหรับผู้เป็นโรคออฟฟิศซินโดรม

พักยืดเส้นยืดสาย หรือลุกขึ้นจากเก้าอี้และเปลี่ยนอิริยาบททุก 1 ชั่วโมง เปลี่ยนจากการจ้องมองหน้าจอคอมพิวเตอร์แล้วมองไปยังพื้นที่สีเขียวหรือต้นไม้

ปรับสภาพโต๊ะทำงานให้เหมาะสม ระดับหน้าจอคอมพิวเตอร์, คีย์บอร์ดและการวางเม้าส์อยู่ในองศาการใช้งานที่ถูกต้องตามสรีระ

ปรับความสูงของเก้าอี้พนักพิง มีการเสริมหมอนหนุนหลังเพื่อให้นั่งสบายขึ้นและเลือกใช้เก้าอี้ที่มีที่วางแขน

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง ไม่นั่งหลังค่อม ไม่ห่อไหล่

ท่าโยคะอย่างง่ายป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม

ท่าแรก

: นอนคว่ำ วางแขนห่างกันเท่าความกว้างของหัวไหล่ ใช้มือดันตัวขึ้น

: เหยียดข้อศอก ยกศีรษะ ไหล่ หน้าอก เอว ให้สูงขึ้นเงยหน้าไปด้านหลัง

: สะโพกด้านหน้า ต้นขา และเท้า วางราบกับพื้น

: ท่านี้จะรู้สึกตึงบริเวณหลังและหน้าท้องเล็กน้อย หายใจเข้าออกปกติ ค้างไว้ 10 - 20 วินาที ทำซ้ำ 5 - 10 ครั้ง

ท่าที่สอง

: นอนหงาย ยกขาขึ้น2ข้าง (ถ้าตึงมากให้ยกทีละข้าง)

: พยายามใช้มือแตะปลายเท้า ถ้าไม่ถึงให้ใช้ผ้าขนหนูคล้องปลายเท้า

: ออกแรงดึงขายกสูงขึ้นมาทางศีรษะโดยให้เข่าเหยียดตรงตลอด

: สะโพกลอยพ้นพื้นเล็กน้อย คอและไหล่วางบนพื้นด้วยความผ่อนคลาย

: ท่านี้จะรู้สึกตึงบริเวณกล้ามเนื้อขาโดยเฉพาะด้านหลังของเข่า ค้างไว้ 10 - 20 วินาที ทำซ้ำ 5 - 10 ครั้ง

ท่าที่สาม

: นั่งขัดสมาธิ หลังตรง มือสอดใต้สะโพก (นั่งทับ)

: ก้มศีรษะเล็กน้อย เอียงศีรษะทางซ้าย มือซ้ายจับศีรษะ กางศอกออก กดลงเบาๆ

: ท่านี้จะรู้สึกตึงบริเวณกล้ามเนื้อคอและบ่าด้านตรงข้าม ค้างไว้ 10 - 20 วินาที ทำซ้ำ 5 - 10 ครั้ง

: สลับข้าง ทำเช่นเดียวกัน

ท่าที่สี่ : นั่งขัดสมาธิ หลังตรง มือสอดใต้สะโพก (นั่งทับ)

: ก้มศีรษะลงกดคางชิดอก เอียงศีรษะทางซ้าย มือซ้ายจับศีรษะ กดศอกเอียงด้านหน้า

: ท่านี้จะรู้สึกตึงบริเวณคอสะบักขวา ค้างไว้ 10 - 20 วินาที แล้วตั้งศีรษะตรง ทำซ้ำ 5 - 10 ครั้ง

: สลับข้าง ทำเช่นเดียวกัน นั่งทับมือซ้าย แล้วก้มเอียงศีรษะทางขวา มือขวาออกแรงกดเบาๆ

ท่าที่ห้า : นั่งขัดสมาธิ หลังตรง พาดแขนซ้ายมาด้านหน้าอก

: นำศอกขวากดศอกซ้าย เข้าหาไหล่ขวา หันหน้าไปทางด้านซ้าย

: ท่านี้จะรู้สึกตึงบริเวณต้นแขนด้านหลังและสะบัก ค้างไว้ 10 - 20 วินาที ทำซ้ำ 5 - 10 ครั้ง

: สลับข้าง ทำเช่นเดียวกัน แขนขวาพาดด้านหน้า ศอกซ้ายกดหาไหล่ซ้าย หันหน้าไปทางขวา

ท่าที่หก : นั่งขัดสมาธิ หลังตรง ประสานมือทั้ง 2 ข้างด้านหลัง บีบมือเข้าหากันให้แน่น

: ยืดอก ยืดหลังขึ้น บีบสะบักเข้าหากัน ดันแขนออกไปไกลลำตัวให้มากที่สุด

: ท่านี้จะรู้สึกตึงบริเวณต้นแขน หน้าอกและสะบัก ค้างไว้ 10 - 20 วินาที ทำซ้ำ 5 - 10 ครั้ง

ท่าที่เจ็ด : นั่งหลังตรง เหยียดขาซ้ายไปด้านหน้า ขาขวาข้ามวางข้างเข่าซ้ายด้านนอก

: ศอกซ้ายออกแรงดันเข่าขวาไปทางซ้าย บิดตัวไปทางขวาให้มากที่สุด

: มือขวาวางด้านหลัง หันหน้ามองข้ามไหล่ขวาไปด้านหลัง

: ท่านี้จะรู้สึกตึงบริเวณสะโพกและลำตัวด้านข้างขวา ค้างไว้ 10 - 20 วินาที ทำซ้ำ 5 - 10 ครั้ง

: สลับข้าง ทำเช่นเดียวกัน เหยียดขาขวา งอเข่าซ้าย ศอกขวาออกแรงดัน บิดตัวไปทางซ้าย

ท่าที่แปด : นั่งขัดสมาธิ หลังตรง จากนั้นเหยียดขาขวาออกไปด้านข้างให้ตั้งฉากมากที่สุด

: มือขวาจับเข่าซ้าย บิดตัวไปทางซ้าย ยกมือซ้ายขึ้นแนบหู เอื้อมหลังศีรษะไปจับปลายเท้าขวา

: ถ้าตึงขาหรือลำตัวมาก จับไม่ถึง ให้ใช้ผ้าคล้องปลายเท้าขวาช่วยได้

: ท่านี้จะรู้สึกตึงลำตัวและต้นแขนซ้าย ต้นขาหลังและน่องขวา ค้างไว้ 10 - 20 วินาที ทำซ้ำ 5 - 10 ครั้ง

: สลับข้าง ทำเช่นเดียวกัน งอเข่าขวา เหยียดขาซ้าย มือซ้ายจับเข่าขวา มือขวาจับปลายเท้าซ้าย


เขียนโดย : กภ. วิชญดา มาเสถียร
นักกายภาพบำบัด ปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต กายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง เจ้าของเวิร์กคลินิกกายภาพบำบัด

วัยเก๋า...ไกลโรค ป้องกันการล้ม ในผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุหมายถึงผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 ประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 10 ล้านคน ซึ่งนับเป็นร้อยละ 16 ของประชากรทั้งหมด จึงถือว่าประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) และคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.2564 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด ทำให้ประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ (Aged society) ดังเช่น ประเทศญี่ปุ่น, อิตาลี, เยอรมันและสวีเดน

ผู้สูงอายุเป็นวัยที่ระบบต่าง ๆ ในร่างกายเริ่มเสื่อมสภาพ, ความแข็งแรงเริ่มถดถอย, การทรงตัวแย่ลง จึงทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย การล้มเป็นสาเหตุหลักของการเกิดกระดูกหักในผู้สูงอายุ และยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุต้องย้ายจากบ้านไปอยู่สถานพักฟื้น รวมถึงสภาพจิตใจและอารมณ์ที่เปลี่ยนไป ในผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงต่อการล้มมากถึงร้อยละ 28-35 และผู้สูงอายุที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปเสี่ยงต่อการล้มเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 32-42 นอกจากนี้ยังพบว่าผู้สูงอายุมีอัตราการเสียชีวิตจากการล้มสูงเป็นอันดับ 2 รองจากการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนอีกด้วย

ทำไมผู้สูงอายุถึงล้ม
1.) มีปัญหาเรื่องการทรงตัว
2.) มีความบกพร่องทางการมองเห็น
3.) มีปัญหากระดูกสันหลังหรือหลังค่อม ทำให้ไม่สามารถยืดลำตัวตรง
4.) เป็นโรคความดันโลหิตหรือกินยาบางชนิดที่ส่งผลต่อความดันโลหิต
5.) กล้ามเนื้อขาและสะโพกไม่แข็งแรง

วิธีป้องกันและแก้ไขเบื้องต้น
1.) พบผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินและแก้ไขปัญหาการทรงตัวที่เกิดจากทางกระดูกหูชั้นใน 
2.) แก้ไขปัญหาสายตา เช่น การตัดแว่นสายตาให้เหมาะสม
3.) เปลี่ยนอิริยาบทบ่อยๆ ไม่นั่งหลังค่อมเป็นระยะเวลานาน
4.) ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านโรคความดันโลหิต
5.) ออกกำลังกายกล้ามเนื้อขาและสะโพก โดยใช้เก้าอี้เป็นอุปกรณ์ช่วยในการออกกำลังกาย ดังนี้

ท่าที่ 1

เขย่งเท้า : ค้าง 10 วินาที ทำซ้ำ 20 ครั้ง

กระดกเท้า : ค้าง 10 วินาที ทำซ้ำ 20 ครั้ง

ท่าที่ 2     

ย่ำเท้า ซ้าย-ขวา สลับกัน

ยกขาขึ้น ค้าง 10 วินาที แล้วสลับข้าง ทำซ้ำ 40 ครั้ง (ข้างละ 20 ครั้ง)


ท่าที่ 3

แกว่งขาไปด้านหน้า ค้างไว้ 10 วินาที แล้วแกว่งไปด้านหลัง ค้างไว้ 10 วินาที ตัวตรง หลังตรง ทำซ้ำข้างละ 20 ครั้ง

ท่าที่ 4 กางขาออกด้านข้าง ซ้าย-ขวาสลับกัน

กางขา ค้างไว้ 10 วินาที แล้วเปลี่ยนข้าง

ตัวตรง หลังตรง ทำซ้ำข้างละ 20 ครั้ง

การออกกำลังกายดังกล่าวจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อขาและสะโพก เมื่อออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะมีส่วนช่วยฝึกการทรงตัวและป้องกันการล้มในผู้สูงอายุได้ นอกจากนี้ลูกหลานต้องให้ความรัก ความห่วงใย ดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เปรียบเหมือนน้ำทิพย์หล่อเลี้ยงจิตใจให้ท่านมีชีวิตอยู่กับเราไปอีกนาน


ข้อมูลอ้างอิง 
12 Best Elderly Balance Exercises For Seniors to Help Prevent Falls – ELDERGYM®
หกล้มในผู้สูงอายุ อันตรายกว่าวัยอื่นหลายเท่าตัว ปัญหาที่ต้องระวัง • RAMA Channel (mahidol.ac.th)

8 ท่าโยคะอย่างง่าย ทำเองได้ที่บ้าน ป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม

ในยุคที่มีการแข่งขันสูง การใช้ชีวิตด้วยความเร่งรีบ การทำงานด้วยความเครียด และการใช้เทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆทำให้ทุกคนใช้เวลาในแต่ละวันอย่างน้อย 8 - 9 ชั่วโมงในการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ ใช้มือถือ แทปเลต ประกอบกับท่านั่งที่ไม่เหมาะสม จึงเกิดการใช้งานกล้ามเนื้อแบบผิดปกติ ทำให้กล้ามเนื้อสูญเสียความยืดหยุ่น ร่วมกับการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเป็นเวลานาน ส่งผลไปยังข้อต่อและกระดูกต่าง ๆ บางคนอาจมีอาการชาหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง เริ่มจากการปวดบริเวณกล้ามเนื้อคอลุกลามไปยังกล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ โดยการปวดกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นจากการทำงานเรียกว่า “โรคออฟฟิศซินโดรม”

ข้อแนะนำสำหรับผู้เป็นโรคออฟฟิศซินโดรม

พักยืดเส้นยืดสาย หรือลุกขึ้นจากเก้าอี้และเปลี่ยนอิริยาบททุก 1 ชั่วโมง เปลี่ยนจากการจ้องมองหน้าจอคอมพิวเตอร์แล้วมองไปยังพื้นที่สีเขียวหรือต้นไม้

ปรับสภาพโต๊ะทำงานให้เหมาะสม ระดับหน้าจอคอมพิวเตอร์, คีย์บอร์ดและการวางเม้าส์อยู่ในองศาการใช้งานที่ถูกต้องตามสรีระ

ปรับความสูงของเก้าอี้พนักพิง มีการเสริมหมอนหนุนหลังเพื่อให้นั่งสบายขึ้นและเลือกใช้เก้าอี้ที่มีที่วางแขน

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง ไม่นั่งหลังค่อม ไม่ห่อไหล่

ท่าโยคะอย่างง่ายป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม

ท่าแรก

: นอนคว่ำ วางแขนห่างกันเท่าความกว้างของหัวไหล่ ใช้มือดันตัวขึ้น

: เหยียดข้อศอก ยกศีรษะ ไหล่ หน้าอก เอว ให้สูงขึ้นเงยหน้าไปด้านหลัง

: สะโพกด้านหน้า ต้นขา และเท้า วางราบกับพื้น

: ท่านี้จะรู้สึกตึงบริเวณหลังและหน้าท้องเล็กน้อย หายใจเข้าออกปกติ ค้างไว้ 10 - 20 วินาที ทำซ้ำ 5 - 10 ครั้ง

ท่าที่สอง

: นอนหงาย ยกขาขึ้น2ข้าง (ถ้าตึงมากให้ยกทีละข้าง)

: พยายามใช้มือแตะปลายเท้า ถ้าไม่ถึงให้ใช้ผ้าขนหนูคล้องปลายเท้า

: ออกแรงดึงขายกสูงขึ้นมาทางศีรษะโดยให้เข่าเหยียดตรงตลอด

: สะโพกลอยพ้นพื้นเล็กน้อย คอและไหล่วางบนพื้นด้วยความผ่อนคลาย

: ท่านี้จะรู้สึกตึงบริเวณกล้ามเนื้อขาโดยเฉพาะด้านหลังของเข่า ค้างไว้ 10 - 20 วินาที ทำซ้ำ 5 - 10 ครั้ง

ท่าที่สาม

: นั่งขัดสมาธิ หลังตรง มือสอดใต้สะโพก (นั่งทับ)

: ก้มศีรษะเล็กน้อย เอียงศีรษะทางซ้าย มือซ้ายจับศีรษะ กางศอกออก กดลงเบาๆ

: ท่านี้จะรู้สึกตึงบริเวณกล้ามเนื้อคอและบ่าด้านตรงข้าม ค้างไว้ 10 - 20 วินาที ทำซ้ำ 5 - 10 ครั้ง

: สลับข้าง ทำเช่นเดียวกัน

ท่าที่สี่ : นั่งขัดสมาธิ หลังตรง มือสอดใต้สะโพก (นั่งทับ)

: ก้มศีรษะลงกดคางชิดอก เอียงศีรษะทางซ้าย มือซ้ายจับศีรษะ กดศอกเอียงด้านหน้า

: ท่านี้จะรู้สึกตึงบริเวณคอสะบักขวา ค้างไว้ 10 - 20 วินาที แล้วตั้งศีรษะตรง ทำซ้ำ 5 - 10 ครั้ง

: สลับข้าง ทำเช่นเดียวกัน นั่งทับมือซ้าย แล้วก้มเอียงศีรษะทางขวา มือขวาออกแรงกดเบาๆ

ท่าที่ห้า : นั่งขัดสมาธิ หลังตรง พาดแขนซ้ายมาด้านหน้าอก

: นำศอกขวากดศอกซ้าย เข้าหาไหล่ขวา หันหน้าไปทางด้านซ้าย

: ท่านี้จะรู้สึกตึงบริเวณต้นแขนด้านหลังและสะบัก ค้างไว้ 10 - 20 วินาที ทำซ้ำ 5 - 10 ครั้ง

: สลับข้าง ทำเช่นเดียวกัน แขนขวาพาดด้านหน้า ศอกซ้ายกดหาไหล่ซ้าย หันหน้าไปทางขวา

ท่าที่หก : นั่งขัดสมาธิ หลังตรง ประสานมือทั้ง 2 ข้างด้านหลัง บีบมือเข้าหากันให้แน่น

: ยืดอก ยืดหลังขึ้น บีบสะบักเข้าหากัน ดันแขนออกไปไกลลำตัวให้มากที่สุด

: ท่านี้จะรู้สึกตึงบริเวณต้นแขน หน้าอกและสะบัก ค้างไว้ 10 - 20 วินาที ทำซ้ำ 5 - 10 ครั้ง

ท่าที่เจ็ด : นั่งหลังตรง เหยียดขาซ้ายไปด้านหน้า ขาขวาข้ามวางข้างเข่าซ้ายด้านนอก

: ศอกซ้ายออกแรงดันเข่าขวาไปทางซ้าย บิดตัวไปทางขวาให้มากที่สุด

: มือขวาวางด้านหลัง หันหน้ามองข้ามไหล่ขวาไปด้านหลัง

: ท่านี้จะรู้สึกตึงบริเวณสะโพกและลำตัวด้านข้างขวา ค้างไว้ 10 - 20 วินาที ทำซ้ำ 5 - 10 ครั้ง

: สลับข้าง ทำเช่นเดียวกัน เหยียดขาขวา งอเข่าซ้าย ศอกขวาออกแรงดัน บิดตัวไปทางซ้าย

ท่าที่แปด : นั่งขัดสมาธิ หลังตรง จากนั้นเหยียดขาขวาออกไปด้านข้างให้ตั้งฉากมากที่สุด

: มือขวาจับเข่าซ้าย บิดตัวไปทางซ้าย ยกมือซ้ายขึ้นแนบหู เอื้อมหลังศีรษะไปจับปลายเท้าขวา

: ถ้าตึงขาหรือลำตัวมาก จับไม่ถึง ให้ใช้ผ้าคล้องปลายเท้าขวาช่วยได้

: ท่านี้จะรู้สึกตึงลำตัวและต้นแขนซ้าย ต้นขาหลังและน่องขวา ค้างไว้ 10 - 20 วินาที ทำซ้ำ 5 - 10 ครั้ง

: สลับข้าง ทำเช่นเดียวกัน งอเข่าขวา เหยียดขาซ้าย มือซ้ายจับเข่าขวา มือขวาจับปลายเท้าซ้าย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top